Sabiia Seb
PortuguêsEspañolEnglish
Embrapa
        Busca avançada

Botão Atualizar


Botão Atualizar

Registro completo
Provedor de dados:  Thai Agricultural
País:  Thailand
Título:  การประเมินความแปรปรวนลักษณะทางสัณฐานวิทยา และความหลากหลายทางพันธุกรรมของข้าวนาที่สูง
Evaluation of morphological characters and genetic diversity in highland rice
Autores:  Parinyaporn Muangpil
Supinya Khantipap
Sukarkarn Sriboon
Naras Sirigasorn
Ruangchai Juwattanasomran
Sivapong Naruban
Pornpan Pooprompan
Data:  2014-09-29
Ano:  2013
Palavras-chave:  Highland rice
Genetic diversity
Morphological characters
Bue Po Lo
Eto
ข้าว
พันธุ์บือโป๊ะโละ
พันธุ์ข้าวอิโต 1
ความหลากหลายทางพันธุกรรม
ลักษณะทางสัณฐานวิทยา
นาที่สูง
Resumo:  Ninety-three samples of high land rice, “Bue Po Lo” variety from Mae Hong Son province and one sample of “Eto” variety from Chiang Rai province were evaluated for genetic diversity at Maejo University during June to December of 2012. Treatments were arranged in a Randomized Complete Block design with 2 replications. Cluster analysis of quality characters using NTSYS software was performed to construct dendrogram. The results found that sheath color, internode color, awn character, stem pattern, flag leaf pattern, panicle base pattern, stem vigor, secondary branch pattern, panicle pattern, panicle exertion and threshing were significantly different. While, leaf pubescence, ligule pattern and stigma color were not significantly different. Cluster analyses of “Bue Po Lo” were divided into 11 groups base on Jaccard’s coefficient. As well as, quantitative characters was performed using R software and found that days to flowering, plant height at harvesting, 100 seed weight and leaf length among samples were normally distributed with means of 124 days, 156 cm, 3.1 g, 65 cm and range from 112 to 133 days, 126 to 194 cm, 2.6 to 3.6 g, 37 to 84 cm respectively. However, leaf width, number of stem and ligule lengths were positively skewed distribution.

จากการปลูกทดสอบประเมินความหลากหลายระหว่างประชากรข้าวนาที่สูงพันธุ์บือโป๊ะโละ จำนวน 93 ตัวอย่าง ที่เก็บรวบรวมมาจากจังหวัดแม่ฮ่องสอน และพันธุ์ข้าวอิโต 1 พันธุ์ที่เก็บรวบรวมจากดอยสะโง้ จังหวัดเชียงราย ณ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ระหว่างเดือนมิถุนายนถึงเดือนธันวาคม พ.ศ. 2555 วางแผนการทดลองแบบสุ่มในบล็อกสมบูรณ์ (Randomized Complete Block Design) 2 ซ้ำ ผลการทดลองพบว่า เมื่อนำลักษณะทางคุณภาพมาวิเคราะห์จัดกลุ่ม โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป NTSYS และนำค่าสัมประสิทธิ์ความเหมือน (Jaccard’s coefficient) ระหว่างประชากรมาสร้างเดนโดรแกรม พบว่า มีความหลากหลายในลักษณะสีกาบใบ สีปล้อง การมีหางข้าว ทรงกอ ลักษณะใบธง ลักษณะก้านรวง ความแข็งแรงของลำต้น การแตกระแง้ การจับกันของรวง การยืดคอรวงและการนวด แต่ไม่พบความหลากหลายของการมีขนบนแผ่นใบ ลักษณะลิ้นใบ และยอดเกสรตัวเมีย ซึ่งสามารถจัดกลุ่มย่อยได้ 11 กลุ่ม ส่วนลักษณะทางปริมาณ เมื่อนำมาวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป R พบว่า ประชากรข้าวบือโป๊ะโละที่นำมาศึกษา อายุวันออกดอก ความสูงที่ระยะเก็บเกี่ยว น้ำหนักเฉลี่ย 100 เมล็ด และความยาวแผ่นใบ มีการกระจายตัวแบบปกติ มีค่าเฉลี่ย 124 วัน 156 เซนติเมตร 3.1 กรัม และ 65 เซนติเมตร มีค่าพิสัยอยู่ระหว่าง 112-133 วัน 126-194 เซนติเมตร 2.6-3.6 กรัม และ 37-84 เซนติเมตร ตามลำดับ ส่วนความกว้างแผ่นใบ จำนวนหน่อต่อกอ และความยาวลิ้นใบมีการกระจายตัวของลักษณะเบ้ขวา
Tipo:  PhysicalObject
Idioma:  Thailandês
Identificador:  [Proceeding of rice research symposium 2013: Rice research center groups in upper and lower northern region], Chiang Mai (Thailand), p. 193-205

ISBN 978-974-403-940-8

http://anchan.lib.ku.ac.th/agnet/handle/001/5599

เอกสารประกอบการสัมมนาวิชาการกลุ่มศูนย์วิจัยข้าวภาคเหนือตอนบนและภาคเหนือตอนล่าง ประจำปี 2556, เชียงใหม่, หน้า 193-205
Formato:  312 p.
Direitos:  ลิขสิทธิ์เป็นของเจ้าของบทความแต่เพียงผู้เดียว

สงวนลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537

เอกสารนี้สงวนไว้สำหรับการใช้งานเพื่อการศึกษาเท่านั้น ไม่อนุญาตให้นำไปใช้ประโยชน์ด้านการค้า ไม่ว่ากรณีใดๆ ทั้งสิ้น อีกทั้งห้ามมิให้ดัดแปลงเนื้อหา และต้องอ้างอิงถึงเจ้าของเอกสารทุกครั้งที่มีการนำไปใช้
Fechar
 

Empresa Brasileira de Pesquisa Agropecuária - Embrapa
Todos os direitos reservados, conforme Lei n° 9.610
Política de Privacidade
Área restrita

Embrapa
Parque Estação Biológica - PqEB s/n°
Brasília, DF - Brasil - CEP 70770-901
Fone: (61) 3448-4433 - Fax: (61) 3448-4890 / 3448-4891 SAC: https://www.embrapa.br/fale-conosco

Valid HTML 4.01 Transitional